2 พ.ย. 2566 นักศึกษาพยาบาล เข้าร่วมประชุมวิชาการ HACC forum นครชัยบุรินทร์ ครัง้ที่ 16 ณ โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราาชสีมา

2 พ.ย. 2566 นักศึกษาพยาบาล เข้าร่วมประชุมวิชาการ HACC forum นครชัยบุรินทร์ ครัง้ที่ 16 ณ โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราาชสีมา

คณะพยาบาลศาสตร์ นำนักศึกษาเข้าร่วมประชุมวิชาการ มหกรรมคุณภาพ HACC forum นครชัยบุรินทร์ ครัง้ที่ 16 “Growth Mindset for Better Healthcare System” ระหว่างวันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงแรมสีมาธานี จังหวัดนครราาชสีมา

ทั้งนี้ได้เข้าร่วมกิจกรรมการนำเสนอผลงานวิชาการของนักศึกษา ประเภท Poster Presentation โดยมีผลงานที่ผ่านเข้ารอบนำเสนอ จำนวน 6 เรื่อง ดังนี้

1) นวัตกรรม “รู้ทัน รู้ไว ปลอดภัยจากมะเร็งเต้านม” 

1. นางสาวอนุชชิรา บุญนาน   ชั้นปีที่ 4

2. นางสาวจิณห์นิภา เสียงเล็ก  ชั้นปีที่ 4

หมายเหตุ อาจารย์ผู้ดูแล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรภัทรา แสนเหลา

 

2) งานวิจัย “ ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการปฏิบัติตาม หลัก 3อ. 2ส. ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ”

1. นางสาวณัฐกฤตา ลีเบาะ  ชั้นปีที่ 3

2. นางสาวญานิกา นวลมณี  ชั้นปีที่ 3

หมายเหตุ  อาจารย์ผู้ดูแล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรภัทรา แสนเหลา

 

3) นวัตกรรม การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ “ไม้เท้าช่วยพยุงประกอบเพลงพื้นบ้าน” หมู่บ้านโนนคูณ ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

1. นางสาวณิชาภัทร ทิพเจริญ ชั้นปีที่ 3 

2. นายกิตติศักดิ์ เอื้อปกรณ์ ชั้นปีที่ 3

หมายเหตุ  อาจารย์ผู้ดูแล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุภดี สงวนพงษ์

 

4) งานวิจัย “ความรู้ เจคติและพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ขิงนักศึกษาระดับประกาศนัยบัตรวิชาชีพในสถานศึกษาสังกัดอาชีวะศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิ”

1. นายยุทธกร ทิพชาติ ชั้นปีที่ 3

2. นางสาวกุลวดี ศรีเมือง ชั้นปีที่ 3

หมายเหตุ  อาจารย์ผู้ดูแลอ.ดร.จิรัชญา เหล่าคมพฤฒาจารย์

 

5) นวัตกรรม “พิชิตยาใกล้ตัว ด้วย AR”

1. นางสาวจิรารัตน์ พางาม ชั้นปีที่ 4

2. นางสาวภัทรดา ประทุมทอง ชั้นปีที่ 4

หมายเหตุ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ธรณินทร์ คุณแขวน

 

6) งานวิจัย “ผลโปรแกรมกิจกรรมการเล่นภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อการพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ณ ศูนย์พัฒนาเด็กแห่งหนึ่งอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ”

1.นางสาวอัยรารัตน์ โกศล ชั้นปีที่ 3

2.นายอัศวเทพ เชียงชุม  ชั้นปีที่ 3

หมายเหตุ อ.ลนาไพร ขวาไทย

ตารางสรุปงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน ปีการศึกษา 2564

ตารางสรุปงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน ปีการศึกษา 2564

 

ที่

ชื่อผลงาน

 

ประเด็นที่นำไปใช้ / สถานที่

ผลการสะท้อน

จากแหล่งการใช้ประโยชน์

1

ผลของโปรแกรมเฝ้าระวังและป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำในเลือดต่ออัตราการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด       ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่           หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลชัยภูมิ

–       กิจกรรมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 

–   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยางหวาย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ

– นำกิจกรรมไปปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ รวมถึงเพิ่มตัวแปรด้านคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2         จะทำให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

– พัฒนารูปแบบกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ป่วย รวมถึงผู้ดูแล

2

การพัฒนาโปรแกรมป้องกันโรคซึมเศร้าผู้สูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

–   นำไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรม     การป้องกันภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้สูงอายุ บ้านนาฝาย”

–   โดยประธาน อสม.นาฝาย และคณะกรรมการหมู่บ้านนาฝาย เพื่อให้เกิดการจัดกิจกรรมด้านการป้องกันภาวะซึมเศร้าที่สอดคล้องกับความต้องการผู้สูงอายุและมีประสิทธิภาพ

–  ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและต่อยอดให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

–  พัฒนาสู่การประกอบอาชีพที่ยั่งยืนต่อไป

3.

การศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่รับบริการที่โรงพยาบาลชัยภูมิ

–  การนำผลการวิจัยที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

–    โดยเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ เพื่อให้ผู้ป่วยได้ตระหนักต่อปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง และต่อยอดสู่การกำหนดกิจกรรมการด้านส่งเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง

–  การศึกษาต่อยอดเพื่อนำไปสู่การออกแบบกิจกรรมเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีประสิทธิภาพ

–  การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงตามความคาดหวังและเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น

4

ภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง จังหวัดชัยภูมิ

–  การจัดนำข้อมูลไปใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการออกแบบกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายหลักของคณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งกิจกรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ คือ กิจกรรมการบริหารสมอง การออกกำลังกายแบบพื้นเมืองประยุกต์และการทำกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุรายอื่น อย่างต่อเนื่อง

–  โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ        ได้นำรูปแบบกิจกรรมที่เป็นผลลัพธ์จากการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการให้ คำนะนำผู้สูงอายุในพื้นที่ความรับผิดชอบ

–    ข้อมูลการวิจัยนี้ สามารถนำมาเป็นข้อมูลเพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพจิตให้แก่ผู้สูงอายุได้

–  การพัฒนาต่อยอดสู่งานวิจัยร่วมกับคณะพยาบาลศาสตร์ต่อไป

5

ประสบการณ์การเจ็บป่วยของผู้ป่วยเด็กวัยเรียน โรคธาลัสซีเมีย จังหวัดชัยภูมิ

–  การออกแบบกิจกรรมในการดูแลผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย รวมถึงผู้ปกครองและคุณครู ให้สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปปรับใช้ในการดูแลป่วยเด็กเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคธาลัสซีเมียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

–    โดยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ได้นำผลการวิจัยที่ได้ไปใช้ในการออกแบบกิจกรรมและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองเพื่อการดูแลเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

–  โดยหน่วยงานได้สะท้อนผลการนำไปใช้ประโยชน์ว่าข้อมูลการวิจัยนี้ทำให้คุณครูผู้ดูแลได้พัฒนาองค์ความรู้ด้านการประเมินดูแลเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคธาลัสซีเมีย ให้สามารถดูแลเด็กและให้คำแนะนำผู้ปกครองได้อย่างถูกต้อง

6

ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตร่วมกับกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันการเสพสารเสพติดของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จังหวัดชัยภูมิ

–    การจัดกิจกรรมการป้องกันปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลยางหวาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

–    โดยฝ่ายพัฒนาสังคม องค์การบริหารส่วนตำบลยางหวาย ได้รูปแบบกิจกรรมดังกล่าว ไปพัฒนาต่อยอดกับแผนการพัฒนาชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเด็กเยาวชนด้านการป้องกันปัญหายาเสพติด

–    ข้อมูลการวิจัยนี้ สามารถเป็นประโยชน์ในการวางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนัก สร้างจิตสำนึกที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนเพื่อห่างไกลจากยาเสพติด แต่หากมีการดำเนินการร่วมกันกับคณะพยาบาลศาสตร์ จะทำให้เกิดรูปแบบกิจกรรมที่มีความน่าสนใจและประสบผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมเพิ่มมากขึ้น

7

นวัตกรรม ยางเหนียวเกี้ยวชีวิต

–  การส่งเสริมการออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้กับผู้สูงอายุ   ในชุมชน

–  โดยประธานชมรมผู้สูงอายุบ้านหนองหลุบ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เมื่อนำนวัตกรรมไปใช้ในการออกกำลังกายในกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุมีความชื่นชอบนวัตกรรมว่านำไปใช้ประโยชน์   ในการออกกำลังกายได้จริง สามารถหาวัสดุ อุปกรณ์ได้ง่าย ประหยัดและหากออกกำลังร่วมกันยิ่งจะทำให้เพิ่มความสุขมากขึ้น

–  ควรพัฒนานวัตกรรมให้มีห่วงในการสอดนิ้ว เพื่อความสะดวกเวลาการออกกำลังกาย ไม่ดีดและ          ไม่หลุดง่าย

8

สนับเข่าบรรเทาทุกข์

–  การออกกำลังกายในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านอาการปวดข้อเข่าหรือเคลื่อนไหวร่างกายลำบากเพื่อให้สามารถประยุกต์การออกกำลังกาย โดยใช้อุปกรณ์ที่ผลิตได้เอง วัสดุหา   ได้ง่ายและราคาไม่แพง

–    กลุ่มผู้นำไปใช้ประโยชน์ คือ ประธานชมรมผู้สูงอายุและ อสม. บ้านหนองหลุบ ตำบลบ้านทุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

–  พัฒนานวัตกรรมเพิ่มเติมจากผู้ใช้ประโยชน์ คือ การปรับนวัตกรรมให้สามารถหมุนเปลี่ยนขนาดได้ตามเข่าของผู้สูงอายุจะทำให้สามารถออกกำลังกายได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

 

7 – 8 กรกฎาคม 2565 เผยแพร่นวัตกรรมภูมิปัญญาไทย ในเวทีการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ดำเนินการเผยแพร่ ภูมิปัญญาไทย ในการสร้างเสริมสุขภาพ คือ “ลูกประคบสมุนไพร ห่วงใย Mommy” และ “ไม้นวดสมุนไพร ใส่ใจมารดาหลังคลอด” ในเวทีการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เรื่อง “วิจัยสร้าง Innovation และ Technology เพื่อรองรับสังคมไทยสู่ยุค Digital World” และการประชุมสาขาพยาบาลศาสตร์ เรื่อง “การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค Next Normal” วันที่ 7 – 8 กรกฎาคม 2565 แบบออนไลน์ บนแอปพลิเคชัน Zoom Meeting และมีการเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ เว็บไซต์ของคณะพยาบาลศาสตร์และเฟสบุ๊ค

14-16 มิถุนายน 2565 การอบรม เรื่อง พัฒนาสมรรถนะอาจารย์และศักยภาพนักวิจัย พัฒนาสมรรถนะอาจารย์ด้านการเขียนเอกสารประกอบการสอน ตำราและหนังสือ

 การอบรม เรื่อง พัฒนาสมรรถนะอาจารย์และศักยภาพนักวิจัย พัฒนาสมรรถนะอาจารย์ด้านการเขียนเอกสารประกอบการสอน ตำราและหนังสือ

วันที่ 14-16 มิถุนายน 2565 ห้องประชุมพระยาภักดีชุมพล 1ชั้น 3 อาคารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ และรูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบZOOM